ปิด
ขึ้นทะเบียนเป็น "มรดกของญี่ปุ่น" โดยกระทรวงวัฒนธรรม ปี ค.ศ. 2016
วัฒนธรรมแบบ "ดาเตะ" ที่บ่มเพาะโดยมาซามุเนะ
Story3

การแผ่ขยายของวัฒนธรรมหลังยุคของมาซามุเนะ

กว้างไกลกว่ายุคสมัย

ในเวลาต่อมา วัฒนธรรมใหม่ที่ ดาเตะ มาซามุเนะ สร้างขึ้นได้แผ่ขยายออกไปในหลายด้าน ทั้งยังมีการพัฒนาขึ้นไปอีกระดับ จนกระทั่งวัฒธรรมเหล่านั้นได้หยั่งรากลึกอยู่ในวิถีชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่ในมิยากิในปัจจุบัน

ท่าทีต่อวัฒนธรรมของมาซามุเนะได้รับการสานต่อโดยบรรดาเจ้าเมืองในยุคต่อมา นับตั้งแต่รุ่นที่ 2 ทาดามุเนะ, รุ่นที่ 3 สึนามุเนะ, รุ่นที่ 4 สึนามุระ ไปจนถึงรุ่นที่ 5 โยชิมุระ อีกทั้งยังลึกซึ้งและพัฒนาไปอีกมากในสิ่งก่อสร้างต่างๆ เช่น ศาลเจ้าโทโชกู หอซุยโฮเด็น สุสานเอ็นซืออินที่ทาดามุเนะเป็นผู้สร้าง สุสานโยโทคุอินที่สึนามุเนะเป็นผู้สร้าง ศาลเจ้าชิโอะกามะจินจะที่สึนามุระและโยชิมุระเป็นผู้สร้าง ล้วนแล้วแต่มีความหรูหราตระการตาตามแบบที่มาซามุเนะต้องการ

รายการสมบัติทางวัฒนธรรมอื่นๆ

แผ่ขยายไปทั่วประเทศ

เหล่าผู้คนในเมืองหลวงต่างใฝ่ฝันถึงมิจิโนคุ ดินแดนอันห่างไกลในยุคโบราณจนเขียนบทกวีขึ้นมามากมาย มาซามุเนะจึงได้สร้างศาลาที่พักไว้ตามสถานที่ต่างๆ ที่เป็นต้นกำเนิดของบทกวีในจังหวัดมิยากิ ไม่ว่าจะเป็นมัตสึชิมะหรือคิโนะชิตะเพื่อใช้เป็นที่จิบสุรา ความรู้ที่ลุ่มลึกของมาซามุเนะเกี่ยวกับสถานที่อันเป็นต้นกำเนิดของบทกวียังได้รับการสานต่อไปสู่การค้นคว้าวรรณกรรมโบราณ และการสำรวจหาซากสถานที่อันโด่งดังในยุคโบราณโดยทาดามุเนะและสึนามุระ

อีกทั้งทางภูมิภาคยังได้ทำการค้นหา บูรณะ และอนุรักษ์สถานที่ต้นกำเนิดบทกวีเอาไว้อีกด้วย จนกระทั่ง มัทสึโอะ บะโช ได้เดินทางมาเที่ยวชมสถานที่ต้นกำเนิดบทกวีด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นที่มัตสึชิมะ ทสึโบะโนะอิชิบุมิ สึเอะโนะมัทสึยามะ โอคิโนอิเกาะมากาคิกะ สึสึจิกาโอกะ หรือหอยาคุชิโด และยังได้นำเรื่องราวไปเขียนไว้ใน “โอคุโนะโฮโซมิจิ” ทำให้สถานที่ต้นกำเนิดบทกวีในภูมิภาคเซนไดยิ่งเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศ พร้อมกับความแพร่หลายของไฮไค ซึ่งเป็นบทประพันธ์รูปแบบหนึ่งในสมัยเอโดะ

รายการสมบัติทางวัฒนธรรมอื่นๆ

แผ่ขยายสู่ชาวบ้าน

วัฒนธรรมที่มาซามุเนะสร้างขึ้นแผ่ขยายไปสู่วงกว้างในกลุ่มคนหลายระดับ เช่น ชาวเมืองในละแวกรอบปราสาทเซนได และช่างฝีมือ มีการจัดการแสดงพื้นบ้านที่มีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับภูมิภาคเซนไดขึ้นในบริเวณรอบปราสาทโดยมีการควบคุมและอนุรักษ์ไว้โดยทางภูมิภาค ทั้งการแสดงพื้นบ้านคากุระที่แสดงโดยพระในงานเทศกาลประจำปีของศาลเจ้าโอซาคิฮะจิมังกู ระบำชิชิโอโดริและการรำดาบในเทศกาลโอบ้งที่เคยมีศาลเจ้าใหญ่สายฮะจิมังกูเข้ามาเกี่ยวข้อง ระบำทะอุเอะโอโดริที่เคยเป็นสีสันให้กับความคึกคักของเมืองนอกปราสาทในช่วงปีใหม่ การแสดงเหล่านี้เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านในเมืองรอบปราสาทเซนไดและละแวกใกล้เคียงในอดีต นอกจากนี้ งานเทศกาลเซนไดซึ่งเป็นเทศกาลประจำปีของศาลเจ้าโทโชกูที่คึกคักที่สุดในเมืองที่ตั้งปราสาทเซนได และเทศกาลอาโอบะที่เคยจัดในช่วงฤดูใบไม้ผลิของศาลเจ้าอาโอบะซึ่งเป็นศาลเจ้าที่สร้างขึ้นเพื่อบูชา ดาเตะ มาซามุเนะ ก็ยังมีการจัดสืบต่อมาในชื่อเทศกาลเซนได/อาโอบะ

นอกจากนี้งานศิลปหัตถกรรมของเหล่าช่างฝีมือที่เคยทำงานรับใช้เจ้าเมืองเซนไดก็ยังได้รับการสืบทอดต่อมาโดยช่างฝีมือในเมืองรอบปราสาท และได้ขยายขอบเขตออกไปเป็นผ้าทอแบบเซนไดฮิระ พู่กันเซนไดโอฟุเดะ เครื่องปั้นดินเผาทสึทสึมิยากิ งานฝีมือจากกระดาษเซนไดฮาริโกะ และตู้ลิ้นชักเซนไดทันสึ เหล่านี้ล้วนเป็นงานหัตถกรรมตามแบบแผนที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน

รายการสมบัติทางวัฒนธรรมอื่นๆ

Story3
การแผ่ขยายของวัฒนธรรมหลังยุคของมาซามุเนะ

ขึ้นทะเบียนเป็น "มรดกของญี่ปุ่น" โดยกระทรวงวัฒนธรรม ปี ค.ศ. 2016
วัฒนธรรมแบบ "ดาเตะ" ที่บ่มเพาะโดยมาซามุเนะ

คณะกรรมการดําเนินงานโครงการผลักดันการเผยแพร่เสน่ห์แห่ง "วัฒนธรรมแบบ "ดาเตะ"”
8-1-3 ฮอนมาจิ เขตอาโอบะเมืองเซนได จังหวัดมิยากิ